ทำไมต้องขายราคานี้

ปัจจุบันนี้ การขายสินค้าและบริการต่างๆ ผู้บริโภค เป็นฝ่ายเลือก ความถูกต้อง เหมาะสม มีการแข่งขัน การหลอกลวง

ผู้ใช้ส่วนมาก จะศึกษาข้อมูลต่าง ๆ โดยละเอียด ใครที่สามารถให้ข้อมูลได้กระจ่าง เข้าใจ กับผู้ซื้อ ก่อนจะเสียเงิน ในฐานะ เป็นผู้ขาย จะอธิบายข้อมูลให้ เข้าใจรายละเอียด

ต้นทุนตรง                 ค่า กากกาแฟ โดยมากการให้ค่ากากกาแฟ ลองคิดดูว่าถ้าท่านไปขอกากกาแฟจากตามร้านค้า ควรจะให้ค่าเหนื่อยเท่าไหร่ เขาต้องคอยตักมาเก็บ คอยเฝ้า รวมถึงต้นทุนเม็ดกาแฟอีก ที่ราคามากกว่า กิโลละ 300 บาท ค่าสถานที่ของเขา
ลองตีแบบถูกๆเลยนะครับแบบไม่น่าเกียจ โลละ 10 บาท แต่กว่าจะทำแห้งได้ ต้องใช้ กากกาแฟ 2.5 kg ถึงจะได้ 1 kg.     เป็นต้นทุน  25  บาท

 

ต้นทุนแปรผัน

ค่าจัดเก็บวัตถุดิบ การเดินทาง ค่าน้ำมัน ค่าจ้างคนไปเก็บ ให้โลละ 5 บาท (ไปเก็บครั้งละ 30โล เท่ากับ 150 บาท แบบถูกๆเลยนะครับ) รวม  30

ค่าแรงการตาก อบ  แพ็ค ค่าแรงในการนำมาตากแห้ง ดำเนินการต่างๆจนแห้ง ให้โลละ 10 บาท (ต้องยก ต้องเก็บ ตากแดด ใช้เวลาประมาณ 3 วัน)รวม 40

ค่าโฆษณา ค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร ค่าโฆษณา ค่าทำเวบ ให้โลละ 4 บาท รวม 44

ค่าถุง ค่าถุง อันนี้ต้องรวมด้วย ถุงซีล ใบละ 5 บาท รวม 49

ค่าโทรศัพท์ อย่างน้อยซื้อที่ ต้องคุยกันที นาทีละ 3 บาท 52

ค่าขนส่ง ค่าบริการไปขนส่งให้ฟรี นัดรับ ให้โลละ 3บาท รวม 55

ค่าเครื่องจักร ต้นทุนดอกเบี้ย ค่าเสื่อม การลงทุน ให้โลละ 5 บาท รวม 60

ค่าไฟ ต้องใช้เครื่องร่อน เครื่องบด ต้องมีค่าไฟ ให้โลละ 3 บาท รวม 63

ค่าสถานที่ ร้านต้องเสียค่าเช่า ที่เก็บสินค้า โลละ 3 บาท รวม 66

ค่ากล่อง ถุง อุปกรณ์ที่ใช้แล้วเสีย ค่าความเสี่ยงในการสูญเสียระหว่างการทำ เช่น กากกาแฟหก หรือถุงขาด คัตเตอร์หัก ค่าบำรุงอุปกรณ์ น้ำมันจักร ผ้าเช็ดทำความสะอาด อุปกรณ์ที่ใช้แล้วทิ้ง แปรง ให้โลละ 4 รวม 70

คิดคำนวนในราคาที่ แบบกันเอง แบบคนทำงาน ไม่ได้หวังกำไร รวมแล้วกำไรที่เกิดจากการทำงานแรงงานอยู่ที่ โลละ 15 บาท
ถ้าขายวันละ 20 โล เท่ากับ วันละ 300 ใครจะขายได้วันละ 20 โล ต้องทำขนาดไหน ถึงจะได้วันละ 20 โล ต้นทุนด้านอื่นก็เพิ่มขึ้นด้วย

ทำพลาดมามากแล้ว

ด้วยความดื้อ หรือ ความไม่เข้าใจ เรื่อง กากกาแฟ อบฆ่าเชื้อ  ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร  ถึงจะมีคุณภาพที่สุด

ได้ทดลองขาย  ลองทำ สารพัดวิธี  ด้วยความยากในการทำของเปียกให้แห้ง   จน ณ วันนี้ ลูกค้ามาถามว่า พี่ทำได้อย่างไร และลูกค้าที่ถามก็ทำร้านกาแฟ แต่กลับไม่สามารถนำกากกาแฟมา reuse ได้

กากกาแฟที่ขาย  ในช่วง 3 เดือนแรก ตั้งแต่ต้น มกราคม – เมษายน  ปี 58  ในหมู่นักเรียน นักศึกษา ขายดีมาก จนแทบไม่ต้องทำให้กากกาแฟแห้ง ก็ขายได้   หลังจากนั่น สินค้า เริ่มเยอะ  เพราะ ไปเหมาซื้อมาจากร้านกาแฟ ชื่อดัง เกือบทุกร้าน  ย่านสาธร สีลม  ทองหล่อ  ย่านธุรกิจที่มีการบริโภคกาแฟ วันละกว่า  100 kg  ประกอบกับ ยอดขาย ลดลง  มีคู่แข่งทางธุรกิจมากขึ้น  สินค้ามีมากจน เสียดายเงินที่ไปซื้อมา

เข้าสู่หน้าฝน  การทำการตากแห้ง กาแฟ ยุ่งยากมาก  เพราะ เดี่ยวฝนก็ตก   เลยทำการตากแดดไม่ได้   กากกาแฟจะอับความชื้น จนขึ้นรา และกลิ่นเสีย  ปล่อยให้แห้งด้วยเวลา  เขาจึงเรียกว่า ดิน   บางเจ้า ก็ยังนำมาขาย เพราะยอมรับว่าแห้ง  แต่กลิ่นเป็นกลิ่นสาป

ทิ้งกาแฟที่รับมา ประมาณ  1 ตัน   ออกเลย   เริ่มต้นใหม่ และใหม่หลายครั้ง  จนเข้าใจ วัฏจักร หรือ วิธีการ ทำแห้งของกาแฟได้ดี

ที่ผ่านมา คิดว่าของเราที่ทำมีคุณภาพ  ไม่ฟังเสียงคัดค้านของลูกค้า  จนต้องเสียลูกค้าไปมาก  ต้องกราบขอโทษ ณ ที่นี้ด้วย

ตอนนี้ ลูกค้าเก่า มาขอรับกากกาแฟ ได้เลย  ฟรี ๆ   ที่เคยซื้อกันไป

ของไม่มีคุณภาพ  ทำครั้งเดียว คนก็ไม่มาซื้อซ้ำ   และ  เราก็เป็นคนหนึ่ง ที่ไม่ชอบให้ใครมาหลอกเรา  คิดว่า ไม่อยากไปหลอกใครอีก ไม่อยากให้ใครไม่สบายใจ

ทำออกมา  มีปัญหา  ทิ้งเลย  อบนานเกินจนได้กลิ่นไหม้   เราทิ้งหมดเลย

IMG_5084 IMG_5085

เก็บค้างสต้อกนาน  หรือลืมเปิดเครื่องหมุนกาแฟ  มีกลิ่นอับ   เราทิ้งหมดเลย

 

ต้องใช้เวลาในการทำแห้ง

กว่าจะได้สูตรสำเร็จในการทำแห้ง   โดยยังรักษาสภาพสินค้าให้มีคุณภาพไม่ต่ำกว่า 60 %  ทั้งในเรื่อง กลิ่น สี

ข้อสังเกตที่เกิดขึ้น

  1. กากกาแฟ เก็บความร้อนได้นาน  กว่าจะคายความร้อนออกมา
  2. การคายความร้อนของกากกาแฟ ทำให้เกิดความชื้น  และน้ำ
  3. เมื่อคายความร้อนแล้วต้องหาวัสดุซับ ออกให้แห้ง
  4. การเก็บน้ำไว้นาน ถ้าไม่รีบเอาน้ำออกจากกาแฟ ทำให้ขึ้นรา  และเกิดปฏิกิริยาการเน่า ส่งกลิ่นเหม็น

สารพันปัญหา

หลายท่านคงเบื่อหน่ายกับการตากแดด  แบบมาราธอน  กว่า 3 แดด  ต้องตากบางๆ     พอตาก บางๆ  ลมมาก็ปลิวไปเลย

ตากแล้ว  น้ำในตัวกาแฟ ก็มาอยู่ข้างล่าง ต้องคอยพลิกไป พลิกมา      จะใช้ตะแกรงแบบตากกล้วยก็ไม่ได้  กาแฟจะหกหมดอีก

พอแห้งแล้ว  จัดเก็บไม่ดี  กากกาแฟจะมาชื้นไหม   ห้ามโดนแดด  โดนน้ำ และไว้ในห้องแอร์

การจัดเก็บ   ควรใช้ถุงฟรอยด์   และซีนแบบหนา