Archives for October 2016

ทำไมธุรกิจอบแห้งถึงไม่work

  1. อากาศบ้านเราเป็นแบบร้อนชื้น    คือ  ทำสินค้าแห้งมาแล้ว ก็มาชื้นได้ใหม่อีก  ถ้าเก็บรักษาไม่ดี   : จำได้ว่าแต่ก่อนชอบกินปลาหมึกมาก  ไปเที่ยวแถวทะเล จะต้องมีอันได้เสียเงินซื้อมา   แต่พอมากินได้ไม่นาน  อ้าว ทำไมขึ้นราแล้วล่ะ  ไปโวยวายร้านค้า  ที่ไหนได้  อยู่ที่เราเก็บรักษาเอง
  2. ต้องประหยัด  ทำแล้วอย่าหก อย่าเสีย  เพราะฉะนั้น ต้องทำเอง  :  แต่ก่อนจ้างคนบรรจุกาแฟลงถุง แล้วแพ็ค  โห ที่หกมากกว่าที่ใส่อีก  แล้วจะเหลืออะไร   แต่ละขั้นตอนต้องมีการย้าย  ยิ่งมีการย้ายบ่อยเท่าไหร่  จะมีสูญเสียมากเท่านั่น
  3. เครื่องจักร 1 เครื่อง ใช้สำหรับ วัตถุดิบประเภท เดียว    ทำไมเหรอครับ    เครื่องจักรทำกากกาแฟ จะมีสีติดดำ  แต่ถ้าเอาไปทำ ขมิ้น  จะมีสีติดเหลือง   ไปทำชาเขียว  ติดสีเขียว    ทำพริก  มีสีแดง   คราวนี้ ใช้รวมกัน  อ้าว  มัวเลย ครับ  สินค้าอะไร  ถ้ามีใครจะสั่งได้เลยนะครับ  555
  4. ใช้พื้นที่เยอะ   ถ้าจะทำเป็นธุรกิจ  โดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ท่านมองว่าขายได้ 200 kg  ต้องเตรียมพื้นที่200 ตรม.  คือ  10 เมตร คูณ 20 เมตร  อย่างต่ำๆ    ถ้ามีพื้นที่เยอะขนาดนี้    ทำอย่างอื่นได้กำไรมากกว่าไหมครับ
  5. ใช้เครื่องจักร หลายตัว   ในการกระบวนอบแห้งตั้งแต่ต้นถึงมือผู้บริโภค
  6. ต้องทำราคาขายแบบ จ่ายได้    อันนี้ เจ็บช้ำ ที่สุด   เหมือนว่า เอาชีวิตเข้าแลก  ไม่คิดค่าแรงตัวเอง   คือ เหนื่อยฟรี  เลยมีคนท้อแท้ และออกจากวงการไป และเข้ามาใหม่ เพราะ การทำอบแห้งคิดว่าง่าย
  7. เครื่องจักรอาจเป็นคำตอบสุดท้าย   แต่ก็ไม่ใช่  บางครั้งเพียงจุดเล็ก ๆ  ก็ทำให้สินค้าอบแห้งบางประเภทไม่แห้ง หรือใช้ไม่ได้ เคยคิดและเสียเงินซื้อมาหมดแล้ว   ไม่ว่าจะเป็นเครื่องไซโล   เครื่องอบลมร้อนแบบใบกวน ที่โฆษณา   ใครอยากจะมาดูพิพิษภัณฑ์เครื่องจักร  มาดูได้เลยที่นี้   555  ซื้อมาเล่นๆ  แบบว่าชอบสะสม  ชอบทดลอง ครับ  ที่ทำอยู่ก็ไม่ได้จริงจังอะไรครับ บางคนมาดู บอกว่า ใหญ่โตมาก  บอกเลยว่า ทำเล่นๆ นะครับ   แต่เสียดายเงินนะที่หายไป 555  จะเป็นกิจการอย่างไรครับ ไม่มีลูกจ้าง ออกแบบระบบให้สามารถทำงานคนเดียวได้เลย

ตอนนี้ เน้นเรื่องการจัดอบรม และให้ความรู้กับนักศึกษา   มีหลายท่านก็ face มา Line มา   ก็ยินดีนะครับ

ช่วงอาทิตย์หน้าจะมีไปอบรมให้กับชาวบ้าน  ที่ร่วมตัวกันทำเรื่องอบแห้ง   อยากให้ชาวบ้าน เป็นผู้ผลิตสินค้า ทางการเกษตร

เพื่อสินค้าล้นตลาด หรือราคา โคตรถูก  จะแนะนำมาทำเรื่องอบแห้ง  จะทำให้เพิ่มมูลค่าสินค้านั่น     ไม่รู้ที่ไหนทำอะไรกันบ้าง  ความรู้และสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เรียนมาจากไหน   ทุกอย่างค้นคว้าและลงมือทำเอง  ไม่เชื่อลองซื้อผลิตภัณฑ์ไปใช้ดูซิครับ    ดีจริงนะ จะบอกให้

การอบแห้ง

การอบแห้ง (Drying) คือ การเอาน้ำออกจากวัสดุที่ต้องการทำให้ปริมาณน้ำในวัสดุนั้นลดลง (ความชื้นลดลง) โดยส่วนใหญ่วัสดุนั้นจะอยู่ในสถานะของแข็ง น้ำที่ระเหยออกจากวัสดุนั้นอาจจะไม่ต้องระเหยที่จุดเดือดแต่ใช้อากาศพัดผ่าน วัสดุนั้นเพื่อดึงน้ำออกมา วัสดุจะแห้งได้มาก-น้อยจะขึ้นอยู่กับธรรมชาติของมันด้วย ในการอบ เมื่อทำให้ของเหลวในวัตถุดิบระเหยเป็นไอ จะได้ผลิตภัณฑ์ของแข็งที่มีสัดส่วนของของเหลวต่ำลง ซึ่งนอกจากจะมีกรณีที่วัตถุดิบมีสภาพเป็นของแข็งที่เปียกชื้นแล้ว ยังมีกรณีที่อบของเหลวข้น(slurry) หรือของเหลวใสเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ผงอีกด้วย

เครื่องอบโดยมากมักจะเป็นส่วนสุดท้าย ของกระบวนการผลิต โดยผลิตภัณฑ์ที่อบแล้วจะกลายเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จทันที ดังนั้น การอบไม่สม่ำเสมอ เช่น ไม่แห้งหรือแห้งเกินไป และรูปร่างของผลิตภัณฑ์ เช่น วัตถุดิบเป็นก้อน รวมทั้งปริมาณผลได้ (yield) จึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสนใจ นอกจากนี้ความร้อนแฝงของการระเหยของของเหลวจะมีค่าสูง การอบจึงสิ้นเปลืองพลังงานมาก การจัดการพลังงานความร้อนจึงเป็นปัญหาที่สำคัญ

อัตราความชื้น

ในการแสดงปริมาณน้ำที่มีอยู่ในวัตถุดิบ จะสามารถแสดงได้ด้วยปริมาณน้ำต่อปริมาณมวลรวมเปียก (ค่า wet base) หรือปริมาณน้ำต่อปริมาณวัตถุดิบแห้ง (ค่า dry base)   ในขณะที่อบมวลรวมจะเปลี่ยนแปลงไปด้วย เมื่อคำนวณความชื้นแบบ wet basis จะทำให้ค่าความชื้นเปลี่ยนแปลงอย่างไม่สม่ำเสมอ ดังนั้นในการคำนวณทางอุตสาหกรรม จะใช้ค่าความชื้น ที่คำนวณแบบ dry basis ซึ่งมวลแห้งเป็นฐานในการคำนวณ เนื่องจากมวลแห้งนี้มีค่าคงที่ตลอดการอบ จึงมีความสะดวกมากกว่า ถ้าให้ความชื้นที่ wet basis เท่ากับ ωw และให้ความชื้นที่ dry basis เท่ากับ ωd แล้ว ค่าทั้งสองจะมีความสัมพันธ์กันดังต่อไปนี้

ความสามารถในการดูดซับความชื้นของวัสดุชื้น กับกลไกการเคลื่อนที่

สภาพของความชื้นที่มีอยู่ภายในวัตถุดิบชื้นเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่มีอิทธิพลต่อกลไกการเคลื่อนที่ของความชื้น ในวัตถุดิบเปียกนอกจากจะมีความชื้นในรูปน้ำอิสระแล้ว ยังมีน้ำ adsorption water ที่เกาะติดกับพื้นผิวของแข็ง ความชื้น bonding water และไอน้ำในช่องว่างอีกด้วย

จะแบ่งความชื้นในวัตถุดิบออกตามสภาพของความชื้น โดยอธิบายความสามารถในการอุ้มน้ำภายในวัตถุดิบ กลไกการเคลื่อนที่ของความชื้น และความดันไอของน้ำของวัตถุดิบต่างๆ ต่อไปนี้โดยละเอียด

เจออะไรมาบ้าง

จริงๆแล้ว เป็นครูสอนเทนนิส  กว่า 20 ปี  แต่ด้วยสภาพร่างกายที่แย่ลง  วิ่งไม่ไหว  เลยอยากหาอาชีพเสริม  หลังจากเลิกสอน ก็มาตากกาแฟ  ตากมา 3 ปี  กว่าจะได้  ว่าอบแห้งทำอย่างไร

ความรู้ เรื่องอบแห้ง บ้านเรา ยังไม่สมบูรณ์แบบ  ยังขาดผู้มีความรู้ความชำนาญ   สินค้าหลายอย่าง จำเป็นต้องอบแห้ง เช่น ยางพารา  เมื่อได้น้ำยางมาแล้ว  แล้ว มาทำแผ่นยาง  เมื่อได้แผ่นยาง ต้องรักษาคุณภาพ ของยางดิบ มีระยะเวลาหนึ่ง

ยางดิบ  สามารถป้อนเข้าตลาดยาง  โดยทั่วไป ใช้ในอุตสาหกรรมล้อรถยนต์    หลายคนยังไม่ได้อยู่ในอุตสาหกรรมนี้ ก็คงคิดว่า ยางดิบ ใช้ทำยางรถยนต์ 100%    จริงๆแล้ว การผลิตยางรถยนต์  มีส่วนประกอบของสารเคมีหลายอย่าง มีลวดเส้น การสร้างแม่แบบ การขึ้นรูปยางให้เหมาะสมกับ รถยนต์แต่ละประเภท     ยาง เป็นสินค้าที่ รีไซเคิลไม่ได้  เสียแล้วต้องทิ้ง และทำลายสิ่งแวดล้อมมาก

กระบวนการผลิต

  • ขั้นตอนการผสมยาง (Banbury Mixing) เครื่อง ผสมยางเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการผลิต ยางดิบ (ยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์) และสารเคมีจะถูกนำไปบดผสมกัน ภายในห้องผสมที่มีการควบคุม อุณหภูมิ ความดัน และเวลาตามที่สูตรกำหนดไว้ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ยางที่มีคุณสมบัติทั้งทางด้านกายภาพและเคมีตามต้องการ สูตรที่ใช้ในการผสมจะแตกต่างกันไปตามหน้าที่ของส่วนประกอบที่จะนำไปผลิต
  • ขั้นตอนการบดยาง (Milling) ยางที่ได้ จากขั้นตอนการผสมยาง (Banbury Mixing) จะถูกนำมาผ่านเครื่องบด เพื่อให้ได้ยางที่เป็นแผ่นยาวๆ โดยอาศัยแรงกดของการหมุนลูกกลิ้ง 2 ตัว ที่มีทิศทางการหมุนและความเร็วที่แตกต่างกัน
  • ขั้นตอนการกดอัด และการฉาบผ้าใบ(Extruding and Calendering) หลังจากผ่านขั้นตอนการบดยาง (Milling) ยางก็จะถูกนำมาสู่ขั้นตอนการกดอัดให้เรียบ โดยใช้เครื่องฉาบผ้าใบ (Calender Machine)
  • ขั้นตอนการขึ้นรูปยาง (Component Assembly) การ ขึ้นรูปยางต้องใช้กระบวนการที่อาศัยเครื่องจักรอัตโนมัติที่ใช้เทคโนโลยี ขั้นสูง เครื่องจักรนี้จะประกอบด้วยล้อหมุน (Rotating Drum) ซึ่งจะเป็นส่วนที่ใช้ในการขึ้นรูปยาง และส่วนที่เป็นตัวป้อนยางให้กับเครื่องสร้างยาง )
  • ขั้นตอนการสร้างยาง (Building) เครื่องสร้างยาง (Tyre Building Machine) นับ ว่าเป็นเครื่องที่มีความสำคัญมากในขบวนการผลิตยาง เพราะใช้ในการประกอบส่วนต่างๆ ของยางที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น ให้เป็นโครงยางดิบ (Green Tyre) เครื่องสร้างยางได้รับการออกแบบให้เหมาะสมและทันสมัยอยู่เสมอ ทั้งนี้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ส่วนประกอบต่างๆ ของยางจะถูกนำมาประกอบกันเข้าตามลำดับทีละชิ้น ตรงตำแหน่งต่างๆ ที่ได้มีการออกแบบไว้อย่างเที่ยงตรง เพื่อให้ได้ขนาดและคุณภาพของยางตามต้องการ
  • ขั้นตอนการอบยาง และขบวนการวัลคาไนซ์ (Curing and Vulcanizing) ใน ขั้นตอนนี้คนงานจะเป็นผู้นำโครงยางดิบ (Green Tyre) เข้าสู่เครื่องอบยาง (Curing Press) ซึ่งการอบยาง และขบวนการวัลคาไนซ์ จะทำให้ยางที่เหนียวและมีความยืดหยุ่นมากเกินไป เปลี่ยนเป็นยางที่มีความแข็ง ลดความยืดหยุ่นให้น้อยลง และให้มีความทนทานมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ในการอบยางจะต้องมีการควบคุมเวลา อุณหภูมิ ความดัน และการไหลของนํ้าร้อนให้พอเหมาะที่จะทำให้เกิดปฏิกิริยาวัลคาไนซ์ที่สมบูรณ์
  • ขั้นตอนการตรวจสอบ (Inspection and Finishing) ยาง ที่อบเสร็จแล้วทุกชนิดจะต้องผ่านการตรวจสอบทุกเส้น ก่อนที่จะส่งเข้าคลังสินค้า (Warehouse) และลูกค้าต่อไป การตรวจสอบจะครอบคลุมถึงรูปลักษณ์ (Appearance) และตำหนิต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวยาง รวมทั้งทำการคัดแยกส่วนที่เป็นยางเสียออกไป

555  ชอบนอกเรื่อง  คราวนี้มาดูกันว่าผมทำกากกาแฟ เจออะไรมาบ้าง  ท่านที่อยากจะทำจะได้เตรียมตัว  ไม่ต้องเสียเวลา

เปิดคอร์สอบรม เรื่อง การอบแห้งสมุนไพรไทย

เปิดคอร์ส อบรม เรื่อง การอบแห้งสมุนไพรไทย

วัตถุประสงค์   1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจถึงกระบวนการอบแห้ง สำหรับ ผลิตภัณท์ทางการเกษตร

 

เนื้อหาข้อมูล

1.  ขั้นตอนการทำอบแห้ง สินค้า ประเภท ต่าง ๆ

2.  การนำเทคโนโลยี อบแห้งมาใช้

3. กระบวนการผลิต และเครื่องจักรที่นำมาใช้ในขั้นตอนต่าง ๆ

4. การบรรจุภัณท์   การออกแบบสินค้า

5.  การตลาดของสินค้าอบรม

 

วิทยากร

อาจารย์ กิตติพร  ธรรมสุนทรชัย

วุฒิการศึกษา   ป.ตรี  ครุศาสตร์ บัณทิต  (เกียรตินิยม)  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ป.ตรี  บัญชี  เอกบัญชี    มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ป.โท  เทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

เจ้าของผลิตภัณฑ์   กากกาแฟ อบแห้ง   coffee4skin

ขมิ้นอบแห้ง

ชาเขียวอบแห้ง

 

ผลสำเร็จ

ท่านสามารถที่จะทำการอบแห้งสินค้า เกษตรกรรม ได้  เช่น  สัปปะรด อบแห้ง   กล้วยตากอบแห้ง  และสามารถผลิตสินค้าออกมาจำหน่ายได้